รวม 7 ค่าใช้จ่ายพี่ ม.6 Part1: ก่อนเรียนจบ
หมวดหมู่: เครื่องมือข้อมูลด้านการสอน
Tags: ม.6
อ่านแล้ว: 2672 ครั้ง
“ชีวิต ม.6 ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างนะ?”
ประเด็นที่น่าสนใจและน่าหยิบนำมาสื่อสารกับนักเรียนมากๆ เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องค่าใช้จ่าย ค่ะ เพราะข้อมูลเหล่านี้ จำเป็นต้องรับทราบและเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองสามารถวางแผนรับมือได้เหมาะสม ก
แนะแนวฮับได้รวบรวมรายการค่าใช่จ่ายของพี่ ม.6 ที่จะต้องเจอแน่ๆ มาแบ่งปันให้คุณครูแนะแนวที่สนใจ ลองนำไปเป็นสื่อการสอนให้นักเรียน รวมถึงใช้เป็นข้อมูลสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อเตรียมพร้อมวางแผนการรับมือต่อไปค่ะ
โดยเนื้อหานี้จะแบ่งค่าใช้จ่าย ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
-
เพราะชีวิตมีค่า Part1 : รวม 7 ค่าใช้จ่ายที่พี่ ม.6 ต้องรับมือก่อนเรียนจบ
-
เพราะชีวิตมีค่า Part2 : รวม 7 ค่าใช้จ่ายที่พี่ ม.6 ต้องรับมือเมื่อสอบติดแล้ว
เพราะชีวิตมีค่า Part1 : รวม 7 ค่าใช้จ่ายที่พี่ ม.6 ต้องรับมือก่อนเรียนจบ
1.ค่าธรรมเนียมการศึกษาในโรงเรียน
ค่าธรรมเนียมการศึกษาหรือค่าเทอม เป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองรวมถึงนักเรียนหลายคนอาจไม่ทันวางแผนหรือเตรียมรับมือ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญมากและมีผลต่อการสำเร็จการศึกษาโดยตรง เพราะบางสถานศึกษาอาจมีเงื่อนไขการรับผลการศึกษา ที่สอดคล้องกับการชำระค่าบำรุงการศึกษาด้วย (จากผลสำรวจครูแนะแนวหลายท่าน พบว่า มีกรณีนักเรียนจบการศึกษาแต่ไม่สามารถออกวุฒิการศึกษาให้ไปสมัครเรียนต่อได้) ครูแนะแนวหรือครูที่ปรึกษา อาจช่วยสื่อสารข้อมูลและเน้นย้ำค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และแจ้งนักเรียนรวมถึงผู้ปกครองให้เช็กยอดค้างชำระที่ฝ่ายการเงินของโรงเรียน โดยบางโรงเรียนอาจมีบริการให้ผู้ปกครองสามารถผ่อนผันการชำระเงินได้ ทั้งนี้ขอให้ศึกษาเงื่อนไขของแต่ละโรงเรียนเพิ่มเติม
2.ค่ากิจกรรมในโรงเรียน
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจแตกต่างกันไปตามกิจกรรมของแต่ละโรงเรียน อาจเป็นการจ่ายเงินห้อง สัปดาห์ละ 50 บาท หรือเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบางกิจกรรมที่นักเรียนทุกคนต้องลงขันร่วมกัน ตัวอย่างกิจกรรมที่เก็บค่าใช้จ่าย เช่น กีฬาสี ลีลาศ รับน้อง เป็นต้น
3.ค่าสมัครสอบในระบบ TCAS
สำหรับนักเรียนที่จะสอบคัดเลือกผ่านระบบ TCAS จำเป็นต้องมีการเตรียมค่าสมัครสอบไว้คร่าวๆ ดังนี้ (อ้างอิงจาก TCAS66) - การสอบในรายวิชา TGAT วิชาละ 140 บาท - การสอบในรายวิชา TPAT วิชาละ 140 บาท (ยกเว้น TPAT1 กสพท วิชาละ 750 บาท) - การสอบในรายวิชา A-Level วิชาละ 100 บาท
4.ค่าสมัครคัดเลือก ในแต่ละรอบ
การคัดเลือกในระบบ TCAS ทั้ง 4 รอบ จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของการสมัครที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละสถาบันการศึกษา
ตัวอย่างเช่น
-
รอบ Portfolio มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ค่าธรรมเนียมการสมัคร 200 /สาขา
-
รอบ Portfolio มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ค่าธรรมเนียมการสมัคร 600 บาท
-
รอบ Portfolio มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ค่าธรรมเนียมการสมัคร 200 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมธนาคาร/ค่าธรรมเนียม Counter Service 10 บาท)
-
รอบ Admistion ระบบกลาง ในการจัดลำดับสามารถเลือกสาขาวิชาได้สูงสุด 10 อันดับ ค่าสมัครดังนี้
▪️ สมัคร 1 อันดับ ค่าสมัคร 150 บาท ▪️ สมัคร 2 อันดับ ค่าสมัคร 200 บาท ▪️ สมัคร 3 อันดับ ค่าสมัคร 250 บาท ▪️ สมัคร 4 อันดับ ค่าสมัคร 300 บาท ▪️ สมัคร 5 อันดับ ค่าสมัคร 400 บาท ▪️ สมัคร 6 อันดับ ค่าสมัคร 500 บาท ▪️ สมัคร 7 อันดับ ค่าสมัคร 600 บาท ▪️ สมัคร 8 อันดับ ค่าสมัคร 700 บาท ▪️ สมัคร 9 อันดับ ค่าสมัคร 800 บาท ▪️ สมัคร 10 อันดับ ค่าสมัคร 900 บาท
5.ค่าสมัครวิชาเฉพาะของมหาวิทยาลัย
บางมหาวิทยาลัยจะมีข้อกำหนดการคัดเลือก โดยการใช้วิชาเฉพาะเป็นตัววัดหรือเกณฑ์การคัดเลือกรูปแบบพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น
1.การสอบวิชาเฉพาะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อ้างอิง https://www.tuadmissions.in.th/img/2022090814541130.pdf) - หลักสูตรภาษาไทย 300 บาท/วิชา - หลักสูตรภาษาอังกฤษ 500 บาท/วิชา - วิชาเฉพาะปฏิบัติ (คณะศิลปกรรมฯ) 500 บาท/วิชา
2.การสอบ NETSATของมหาวิทยาลัยขอนแก่น - วิชาละ 100 บาท
3.การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ - TU-GET ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 500 บาท - CU-TEP ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 900 บาท
4.การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น TOPIK TEST - ระดับ 1 - 2 ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 900 บาท - ระดับ 3 - 6 ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 1,000 บาท
5.การสอบวัดระดับภาษาจีน HSK TEST - HSK 1 ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 500 บาท - HSK 2 ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 700 บาท - HSK 3 ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 900 บาท - HSK 4 ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 1,200 บาท - HSK 5 ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 1,600 บาท - HSK 6 ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 2,000 บาท
6.ค่าสมัครค่ายหรือเข้าร่วมกิจกรรม
ค่าเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ สำหรับเรียนรู้ สะสมประสบการณ์และนำมาใช้สนับสนุนเล่มผลงานหรือ Portfolio เช่น การเข้าค่ายตามคณะหรือสาขาวิชาที่นักเรียนสนใจเข้าศึกษา อาจมีค่าสมัครเข้าร่วมกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป
7.ค่าเดินทางไปสอบหรือสัมภาษณ์
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการเตรียมคัดเลือก ดังนั้นค่าเดินทางอาจผกผันไปตามรูปแบบการสอบหรือการสัมภาษณ์ (Online หรือ Onsite) ตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ เราสามารถประเมินค่าเดินทางเบื้องต้นจากจำนวนวันและระยะทาง จากบ้านถึงสถานที่สอบหรือสัมภาษณ์
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลค่าใช้จ่ายหลักๆ สำหรับชีวิตนักเรียนชั้น ม.6 ที่อาจดูเป็นเงินจำนวนมาก แต่ทุกรายการล้วนส่งผลกับการรับวุฒิและเส้นทางการศึกษาต่อ จึงจำเป็นที่นักเรียนรวมถึงผู้ปกครองควรรับทราบ เพื่อให้เตรียมการรับมือได้อย่างเหมาะสมค่ะ แนะแนวฮับขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้นักเรียนทุกคนสามารถจัดสรรงบประมาณได้ตามแผนอนาคตที่แต่ละคนเลือกไว้นะคะ
สามารถติดตาม เพราะชีวิตมีค่า Part2 : รวม 7 ค่าใช้จ่ายที่พี่ ม.6 ต้องรับมือเมื่อสอบติดแล้ว ได้ที่ https://guidancehubth.com/knowledge/84
พิเศษ! เปิดคอร์สออนไลน์ชวนคุณครูที่ต้องสอนแนะแนวทุกท่านมาเรียน
หลักสูตรการเรียนการสอนแนะแนวและการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Online)
ถ่ายทอดโดยเพื่อนครูแนะแนวผู้มีประสบการณ์ตรงในการนำไปใช้จนเห็นผลการเปลี่ยนแปลง พร้อมเคล็ดลับและคำแนะนำที่สามารถใช้ได้จริง
✅ เรียนฟรี
✅ ได้ไอเดียและกิจกรรมไปใช้สอนแนะแนว
✅ มีเกียรติบัตร
คลิกสมัครและเริ่มเรียนได้ที่ https://guidancehubth.com/courses