ชวนรู้จักเครื่องมือตุ๊กตาขนมปัง EP.2

หมวดหมู่: เครื่องมือข้อมูลด้านการสอน

Tags: 

อ่านแล้ว: 229 ครั้ง


ภาพประกอบความรู้

ซีรีส์ “ตุ๊กตาขนมปัง” EP.2 มาแล้วววค่าาาา

หลังจากที่เราทำความรู้จักกับภาพรวมของตุ๊กตาขนมปัง เครื่องมือชิ้นเล็ก ที่ช่วยเปิดโลกภายในสุดยิ่งใหญ่ของนักเรียน ใน EP.1 กันไปแล้ว (อ่าน EP.1 ชวนรู้จักเครื่องมือตุ๊กตาขนมปัง ได้ที่ https://guidancehubth.com/knowledge/223 EP นี้เราจะพาคุณครูมารู้จักกับอวัยวะแรกของตุ๊กตาขนมปัง ซึ่งก็คือ “ส่วนหัว” ประตูบานแรกที่จะพาเด็ก ๆ ไปค้นหาคำตอบว่า “อะไรคือเป้าหมายในชีวิตของฉัน” . ตามมาดูว่าส่วนหัวของตุ๊กตาขนมปังจะสะท้อนเป้าหมายของเด็ก ๆ อย่างไร พร้อมกิจกรรมสนุก ๆ ที่คุณครูสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนควบคู่ ให้เด็กทบทวนเป้าหมายตัวเองได้ชัดเจนขึ้น แนะแนวฮับ จัดเต็มมาให้แล้ว คุณครูนำไปใช้ในห้องเรียนได้เลยค่ะ

ชื่อภาพ

เมื่อคุณครูเห็น “หัว” หรือ “ศีรษะ” คุณครูนึกถึงอะไรบ้างคะ? คุณครูหลายท่านอาจนึกถึง “ความคิด” “ความฉลาด” หรือแม้กระทั่ง “ความฝัน” ใช่ไหมคะ? ถือว่าใกล้เคียงมากเลยค่ะ “ส่วนหัวของตุ๊กตาขนมปัง” จึงเปรียบเสมือน เข็มทิศ ที่ช่วยกำหนดแนวทางในการใช้ชีวิต และคอยย้ำเตือนกับเราว่า เราใช้ชีวิตไปเพื่ออะไร ดังนั้น ส่วนหัวของตุ๊กตาขนมปัง จึงเป็นอวัยวะแทนสิ่งที่เป็น ความคิด ความฝัน หรือเป้าหมายในชีวิต หรือ สิ่งที่เราอยากมี อยากเป็น การเขียนลงบนส่วนหัวของตุ๊กตาขนมปัง จึงเป็นกิจกรรมที่ชวนให้นักเรียนได้ลองสำรวจ “เป้าหมายของตัวเอง” อย่างมีความหมาย ผ่านการตั้งคำถามกับใจตัวเอง พร้อมเปิดพื้นที่ให้พวกเขาได้คิด ได้ฝัน และได้เชื่อมโยงกับชีวิตจริงของเขาเองค่ะ

ชื่อภาพ ชื่อภาพ

กิจกรรม “ส่วนหัว” จะเป็นพื้นที่สำหรับนึกถึง… ✅ ความฝันหรือเป้าหมายชีวิต เช่น ได้เรียนจบในคณะสาขา… มีธุรกิจส่วนตัวเป็นของตัวเอง เลี้ยงดูพ่อแม่ได้ ✅ ความต้องการ สิ่งที่อยากทำ อยากเห็น อยากไปให้ถึง เช่น อยากเป็นจิตแพทย์ อยากเดินทางรอบโลก อยากเก่งภาษา อยากมีบ้านส่วนตัว ✅ รูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวันหรือชีวิตที่อยากมี เช่น ได้ทำงานใกล้บ้าน มีชีวิตอิสระ ย้ายไปอยู่ต่างประเทศ "สิ่งที่เราตั้งใจไว้ว่าอยากจะทำให้มันเกิดขึ้นให้ได้ในชีวิตนี้ของเราทั้งเรื่องที่ยิ่งใหญ่ หรือเรื่องเล็ก ๆ และอาจจะเป็นการทำเพื่อคนอื่นหรือเป็นสิ่งที่ทำเพื่อตัวเองก็ได้"

ชื่อภาพ

เราจะชวนเด็ก ๆ เขียน “ส่วนหัว” อย่างไรดี? แน่นอนว่าการให้เด็ก ๆ จินตนาการถึง เป้าหมายในชีวิต อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน เพราะบางคนอาจยังไม่เคยได้คิด หรือไม่เห็นภาพชัดว่า “ความฝัน” หรือ “เป้าหมาย” ของตัวเองคืออะไร

แต่ไม่เป็นไรเลยค่ะ 😊 เพราะเรามีกิจกรรมสนุก ๆ ที่คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค่อย ๆ ค้นหา และแสดงออกถึงสิ่งที่อยู่ในใจได้ ตัวอย่างที่ 1 กิจกรรม “ทำคอลลาจภาพ” ผ่านโจทย์ส่วนหัว “ฝันที่ฉันอยากเป็น.. อยากมี..” ภาพคอลลาจคืออะไร ? คือ Collage (คอลลาจ) เป็นศิลปะของการตัดแปะโดยการใช้เทคนิค การตัดแปะ ซึ่งจะใช้ ส่วนของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือเศษผ้า กระดาษ รูปภาพ สารพัดสิ่งที่หาได้ ติดทั้งหมดลงไปบนกระดาษ ดังนั้นในกิจกรรมนี้ เด็กๆจะได้มีโอกาสเตรียม หรือเลือกภาพที่เหมาะสมหรือตรงกับ “ฝันที่ฉันอยากเป็น.. อยากมี..” กิจกรรมนี้จะช่วยให้นักเรียนสะท้อนคิดถึงเป้าหมายที่ตนเองต้องการ ทั้งนี้ภาพในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่างๆ จะช่วยเปิดโลกแห่งจินตนาการนักเรียนมากขึ้น

ชื่อภาพ

ตัวอย่างที่ 2 กิจกรรม วาดภาพ ผ่านโจทย์ส่วนหัว “ฝันที่ฉันอยากเป็น.. อยากมี..” การวาดภาพ เป็นกิจกรรมง่ายๆที่จะช่วยให้นักเรียนสะท้อนนึกถึงความต้องการภายในของตนเอง การได้ลองคิด ทบทวนถึงความต้องการของตนเองอย่างไม่มีข้อจำกัด การใช้เวลานิ่ง ๆ ที่เล่าถึง “ฝันที่ฉันอยากเป็น.. อยากมี..” ก็ช่วยให้นักเรียนได้สำรวจเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้นอย่างหนึ่ง กิจกรรมนี้อาจจะต้องอาศัยการสร้างบรรยากาศภาพรวมให้ดูสงบ ผ่อนคลายความกังวลในการวาดภาพ

ชื่อภาพ

ตัวอย่างที่ 3 กิจกรรม visualization ท่องไปพบตนเองในอนาคต "กระบวนการ visualization" คือกระบวนการเรียนรู้ที่อนุญาตให้นักเรียนได้จินตนาการ และรับรู้ความต้องการส่วนลึกของตัวเอง ด้วยการจัดบรรยากาศการให้นักเรียนอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลาย รู้สึกโล่งสบาย โดยคุณครูสามารถศึกษารายละเอียดการทำ visualization อย่างละเอียดได้ที่ E-Learning แนะแนวฮับ Unit 1 "สำรวจเป้าหมาย ความฝัน (หัว)" ได้ที่ลิงก์ https://guidancehubth.com/courses

ชื่อภาพ

เรียบเรียง และเขียนความฝันหรือเป้าหมายของตนเองลงในส่วนหัวของตุ๊กตาขนมปัง เมื่อนักเรียนได้ลองทำกิจกรรมและเริ่มนึกภาพความฝันหรือเป้าหมายของตัวเองออกแล้ว ก็ถึงเวลานำสิ่งที่คิดไว้มาถ่ายทอดลงใน “ส่วนหัวของตุ๊กตาขนมปัง” กันค่ะ จะเขียนเป็นคำสั้น ๆหรือ ประโยคยาวก็ได้ เพราะสิ่งสำคัญไม่ใช่ประโยคที่สวยหรู แต่อยู่ที่ “ความหมาย” ที่เชื่อมโยงกับใจของเขาจริง ๆ

ส่วนหัวนี้...จะกลายเป็น เข็มทิศเล็ก ๆ ที่เตือนให้นักเรียนรู้ว่า เขากำลังมุ่งหน้าไปสู่สิ่งที่ตัวเองเชื่อและฝันอยากเป็นค่ะ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยในการพานักเรียนไปสำรวจ เป้าหมาย ที่ช่วยกำหนดแนวทางการใช้ชีวิต และคอยย้ำเตือนว่าเราใช้ชีวิตไปเพื่ออะไร เพื่อจะได้ตั้งหลักกันไปต่อ ส่วนท้าย อย่าลืมติดตาม ส่วนต่างๆของ “ตุ๊กตาขนมปัง” ใน EP ถัดไปๆกันอีกนะคะ เราจะมาพร้อมกับไอเดียกิจกรรมและเทคนิคการชวนคิดแบบง่ายๆ ที่ครูสามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน ติดตามกันได้ในตอนถัดไปนะคะ


พิเศษ! เปิดคอร์สออนไลน์ชวนคุณครูที่ต้องสอนแนะแนวทุกท่านมาเรียน

ชื่อภาพ

หลักสูตรการเรียนการสอนแนะแนวและการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Online)

ถ่ายทอดโดยเพื่อนครูแนะแนวผู้มีประสบการณ์ตรงในการนำไปใช้จนเห็นผลการเปลี่ยนแปลง พร้อมเคล็ดลับและคำแนะนำที่สามารถใช้ได้จริง

✅ เรียนฟรี

✅ ได้ไอเดียและกิจกรรมไปใช้สอนแนะแนว

✅ มีเกียรติบัตร

คลิกสมัครและเริ่มเรียนได้ที่ https://guidancehubth.com/courses


แชทคุยกับเรา