เตรียมสัมภาษณ์ให้ปัง

หมวดหมู่: เครื่องมือข้อมูลด้านการสอน

Tags:  เตรียมสัมภาษณ์

อ่านแล้ว: 828 ครั้ง


ภาพประกอบความรู้

หลังจากที่หลายมหาวิทยาลัย ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกแล้ว ก็ถึงเวลาของมหกรรม #เตรียมสัมภาษณ์ กันอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นหนึ่งในเรื่องที่นักเรียนส่วนใหญ่มีความกังวลมากที่สุด วันนี้แอดมินจึงมี 4 ข้อการเตรียมความพร้อมแบบสัมภาษณ์อย่างไรให้ปังปุริเย่ สำหรับแบ่งปันให้คุณครูนำไปสื่อสารกับเด็กๆ กันค่ะ

หากคุณครูพร้อมแล้วเราไปดูไปกันเลยค่ะ

โหลดลิงก์ PPT พร้อมสอน คลิก http://bit.ly/3Jj3ZoC

ชื่อภาพ

เตรียมที่ 1 การเตรียมศึกษาระเบียบการ

หลักสำคัญข้อแรกของการเตรียมความพร้อมก่อนการสัมภาษณ์ คือ การศึกษาและทำความเข้าใจระเบียบการในการสัมภาษณ์ก่อนเป็นอันดับเริ่มแรก คุณครูอาจชวนเด็กๆ ตั้งหลักด้วยการอ่านทำความเข้าใจ กติกา รูปแบบ วันเวลาสัมภาษณ์ สถานที่สัมภาษณ์ ให้ชัดเจนและตรงกับสิ่งที่สถาบันการศึกษานั้นๆ ต้องการให้มากที่สุด จะช่วยให้เด็กๆ เตรียมความพร้อมตัวเองและวางแผนรับมือสำหรับพิชิตการสัมภาษณ์ให้มีจุดบกพร่องน้อยที่สุดค่ะ

ชื่อภาพ

การสัมภาษณ์ในปัจจุบันหลักๆ มี 2 รูปแบบ คือ

  1. การสัมภาษณ์รูปแบบ onsite หรือการเดินทางไปยังสถานที่นัดหมายในการสัมภาษณ์ด้วยตนเอง อาจจะเป็นสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่นักเรียนมีรายชื่อ หรือมีสิทธิ์ในการสัมภาษณ์

  2. การสัมภาษณ์รูปแบบ online หรือการสัมภาษณ์ผ่านระบบทางไกลด้วยระบบออนไลน์ผ่านสื่อกลางไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่ใช้กันแพร่หลาย (โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19) ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Zoom Meeting, Google Meet, Line หรือแม้กระทั่งรูปแบบการโทรศัพท์เพื่อสัมภาษณ์ก็ตาม

นอกจากนี้ลักษณะการสัมภาษณ์ก็มีให้เห็นแตกต่างกันออกไป เช่น การสัมภาษณ์เดี่ยวกับกรรมการหลายคน หรือการสัมภาษณ์หมู่ ที่มีผู้ถูกสัมภาษณ์มากกว่า 1 คน กับกรรมการหลายคน ทั้งนี้ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับการออกแบบคัดเลือกแต่ละสถาบัน หากนักเรียนเตรียมตัวเรื่องข้อมูลส่วนนี้ไว้ก่อน จะช่วยลดความตื่นตระหนกเมื่อถึงเวลาสัมภาษณ์ได้

ยิ่งไปกว่านั้นรูปแบบการสัมภาษณ์ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามแต่สถาบัน เช่น การสัมภาษณ์ด้วยการอัดคลิปวิดีโอแนะแนวตัวเพื่อัฟโหลด ก้อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจในเงื่อนไขที่ทางสถาบันกำหนด อย่าลืมที่จะอ่านและทำความเข้าใจให้ชัดเจนนะคะ

ชื่อภาพ

เตรียมที่ 2 การเตรียมศึกษาข้อมูล คณะ สาขา

อีกหนึ่งการเตรียมความพร้อมที่สำคัญอย่างหนึ่งในการสัมภาษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาประวัติและข้อมูลของคณะสาขาที่เราสนใจ รายละเอียดเล็กๆ น้อย ในคณะสาขานั้นๆ อาจจะลึกถึงขั้นวิชาที่เรียนในปีหนึ่ง ค่าเทอม หรือแม้กระทั่งการสืบค้นข้อมูลที่น่าจะเป็นชุดคำถามความรู้พื้นฐานของคณะ ไปจนถึงการคำนวณ สูตร ทฤษฎีต่างๆ ยิ่งนักเรียนเตรียมความพร้อมและรู้จักคณะหรือสาขานั้นๆ ดีแค่ไหน ก็จะช่วยให้การตอบคำถามราบรื่นขึ้นเช่นกัน

ชื่อภาพ

ตัวอย่างข้อมูลสถาบันการศึกษา วิทยาเขต ที่ตั้ง ประวัติ คติพจน์/ปรัชญา เพลงประจำสถาบัน ฯลฯ อาจเป็นคำถามที่ถูกหยิบมาถามเพื่อวัดความรู้และความสนใจของผู้เข้าสัมภาษณ์ก็เป็นได้ค่ะ

ชื่อภาพ

เตรียมที่ 3 การเตรียมสิ่งของและเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในวันสอบสัมภาษณ์

สิ่งของ หลักฐาน หรือเครื่องมือสำหรับใช้ประกอบการสัมภาษณ์ ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่ต้องใช้เวลาจัดเตรียม ค้นหา หรือขอจากสถาบันการศึกษา ให้เหมาะสมและเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษากำหนด ยกตัวอย่างเช่น หลักฐาน ปพ.1 (ระเบียนแสดงผลการเรียน) และ ปพ.7 (เอกสารรับรองการเป็นนักเรียน) ซึ่งเป็นหลักฐานที่จำเป็นต้องออกโดยโรงเรียน นอกจากนี้ ยังรวมถึงแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่เป็นส่วนสำคัญยิ่งในการประกอบการสัมภาษณ์ โดยเฉพาะในรอบ ที่ 1 และ 2 ค่ะ

ชื่อภาพ

เตรียมที่ 4 การเตรียมความพร้อมของตนเอง ทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งการสัมภาษณ์แบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม

ขั้นตอนนี้ถือเป็นหนึ่งในเครื่องชี้วัดการผ่านการคัดเลือกในการสัมภาษณ์เลยก็ว่าได้ โดยหลักๆ แล้วการสัมภาษณ์มีเป้าหมายเพื่อวัดความสามารถของผู้รับการสัมภาษณ์จาก 2 ส่วน คือ

  1. วิชาการ ความรู้ความสามารถ หรือเรียกสั้นๆ ว่า IQ

  2. ความสามารถในการเข้าสังคมและการจัดการอารมณ์อย่าง EQ ที่เรารู้จักกัน

นอกจากการเตรียมความพร้อมทั้งทางความรู้ วิชาการ รวมถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ แล้ว การฝึกฝนและเตรียมความพร้อมที่ครอบคลุมทั้งบุคลิกภาพ ไหวพริบ ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับการตอบคำถาม ก็สำคัญเช่นกันค่ะ

ชื่อภาพ

คำแทนผู้พูด การใช้คำแทนตัวผู้พูดนั้นไม่มีคำตายตัว ขึ้นอยู่ที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ว่าสามารถเลือกหยิบมาใช้ตามความเหมาะสม สุภาพ ได้เป็นตัวเอง และเป็นธรรมชาติ

ชื่อภาพ

การแนะนำตัว = เวลาทอง ถ้าการสัมภาษณ์คือการทำให้รู้จักบุคคลมากขึ้น การแนะนำตัวก็ถือเป็นช่วงเวลาทองในการสร้างความจดจำให้กรรมการเช่นกัน ดังนั้น ควรเตรียมการแนะนำตัวเองที่กระชับ เสียงพูดนำเสนอชัดเจนด้วยความมั่นใจ ให้ข้อมูลสำคัญครบ ตรงประเด็น เพื่อการสร้างความรู้จักและช่วยสนับสนุนให้กรรมการมีข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเลือกเราได้ง่ายขึ้น

ชื่อภาพ

การแนะนำตัวเอง มี 2 รูปแบบ คือ การแนะนำตัวเองอย่างย่อ และการแนะนำแบบจัดเต็ม แน่นอนว่าการได้แนะนำตัวเองแบบจัดเต็มย่อมเป็นโอกาสในการสร้างความสนใจหรือการทำความรู้จักได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้อยู่ที่การประเมินของผู้รับการสัมภาษณ์เอง ว่าเป้าหมาย กรอบเวลา บริบท ท่าทีของกรรมการ หรือสถานการณ์ในขณะนั้น ควรตัดสินใจเลือกแนะนำตัวรูปแบบไหน เช่น หากกรรมการบอกว่า “ลองแนะนำตัวเองให้กรรมการได้รู้จักมากยิ่งขึ้น” อาจจะอนุมานได้ว่า น่าจะหยิบเอารูปแบบจัดเต็มมาใช้ ก็เป็นได้ ทั้งนี้การแนะนำแบบจัดเต็มก็ไม่ได้เป็นวิธีการที่เหมาะสมเสมอไป เพราะหากการแนะนำนั้นใช้เวลามากเกินไป อาจจะทำให้เป็นจุดอ่อนในการสัมภาษณ์ก็เป็นได้ สิ่งสำคัญคือ การมีสติอยู่เสมอว่า เรากำลังสัมภาษณ์เข้าคณะหรือสาขาใด กำลังพูดคุยถึงประเด็นไหน การสังเกตบริบทการพูดคุยและบริบทรอบข้างอาจจะช่วยให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ประเมินเหตุการณ์และเลือกใช้รูปแบบรวมถึงประเด็นข้อมูลได้เหมาะสมยิ่งขึ้นค่ะ

ชื่อภาพ

การแนะนำตัวที่ดี คือการดึงศักยภาพความสามารถของตนเองออกมานำเสนอให้ได้มากที่สุด

ชื่อภาพ

ตัวอย่างคำถามที่ตอบยาก

ชื่อภาพ

การแนะนำตัวที่ดี คือการดึงศักยภาพความสามารถของตนเองออกมานำเสนอให้ได้มากที่สุด

ชื่อภาพ

ตัวอย่างคำถามวัดใจ ข้อนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ถูกสัมภาษณ์เลยค่ะ ว่าจะเลือกใช้สิทธิ์ถามหรือไม่ถามก็ได้ หากไม่มี ก็สามารถตอบกลับด้วยความสุภาพได้ลเยว่าไม่มีค่ะ

ชื่อภาพ

10 คำถามที่มักเจอ ลองซ้อมตอบคำถามเหล่านี้ดู อาจอัดเสียงเก็บไว้แล้วเอากลับมาฟังเพื่อปรับปรุงการเรียบเรียงคำตอบที่อยากสื่อสารให้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ

ชื่อภาพ

การเตรียมความพร้อมเสมอ ไม่ว่าจะต้องเจอคำถามแบบไหนหรือเกิดเหตุการณ์อะไร สิ่งสำคัญคือการตั้งสติรับมือให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ต้องไม่ลืมเตรียมเผื่อใจไว้ด้วยว่าแม้จะตั้งหลักมาดีมากๆ แล้ว สถานการณ์หน้างานก็อาจมีผลทำให้เราไขว้เขวไม่มั่นใจ หรือไม่สามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้เช่นกัน อย่าลืมใจดีกับตัวเอง สะกิดให้ตัวเองหายใจเข้าออก ตั้งใจฟังคำถามและตอบตรงคำถามในแบบที่เต็มที่ที่สุดของเราก็พอค่ะ

อย่างไรก็ดี การสัมภาษณ์อาจจะไม่ได้เป็นรูปแบบของการถาม-ตอบเสมอไป แต่อาจจะเป็นรูปแบบของการให้ลองสาธิตวิธีปฏิบัติหรือให้ลงมือคำนวณ ให้เห็นในเวลานั้นๆ ผู้รับการสัมภาษณ์จึงควรเตรียมใจและพร้อมตั้งสติอยู่เสมอ เช่น เตรียมปากกา ดินสอ กระดาษไว้ เผื่อกรณีที่กรรมการในบางคณะหรือสาขาอาจให้นักเรียนลองคำนวณ หรืออาจต้องสาธิตการทำ CPR สำหรับการสัมภาษณ์บางคณะในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นต้น

ทิ้งท้ายอีกนิด คือ ส่วนตัวแอดมินอยากแนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า 2 อึกแล้วหายใจเข้าออกลึกๆ ก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์นะคะ จะช่วยได้มากเลย ทั้งให้ตัวเราสดชื่นขึ้น ปากคอไม่แห้ง และมีสติพร้อมลุยค่ะ


คอร์สเรียนฟรี สุดพิเศษ เอาไปใช้ได้จริง! สำหรับครูแนะแนว

ชื่อภาพ

หลักสูตรการเรียนการสอนแนะแนวและการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Online)

ถ่ายทอดโดยเพื่อนครูแนะแนวผู้มีประสบการณ์ตรงในการนำไปใช้จนเห็นผลการเปลี่ยนแปลง พร้อมเคล็ดลับและคำแนะนำที่สามารถใช้ได้จริง

✅ เรียนฟรี

✅ มีเกียรติบัตร ***จะได้รับเมื่อทำ Quiz และแบบประเมินหลังเรียนจบเรียบร้อย

คลิกสมัครและเริ่มเรียนได้ที่ https://guidancehubth.com/courses


แชทคุยกับเรา