อยากเป็นนักเรียน YC ต้องทำยังไง? แจกเช็กลิสต์คุณลักษณะเด็ก YC
หมวดหมู่: เครื่องมือข้อมูลด้านการสอน
Tags: YC
อ่านแล้ว: 243 ครั้ง
กิจกรรมนักเรียนที่ปรึกษา หรือ (YC-Youth Counselor) เป็นกิจกรรมที่ที่คุณครูแนะแนวจะต้องสรรหานักเรียนมาเป็นเพื่อนที่ปรึกษา ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเพื่อนๆ
การเป็นนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC) คือบทบาทสำคัญที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติเฉพาะตัว เพื่อช่วยเหลือเพื่อนๆ ที่กำลังเผชิญปัญหาต่างๆ ในชีวิตนักเรียน การสำรวจตนเองก่อนตัดสินใจเป็น YC จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อให้นักเรียนได้ประเมินศักยภาพและความพร้อมของตัวเอง ซึ่งการสมัครเป็นนักเรียน YC จะต้องมีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะตามที่กลุ่มพัฒนาระบบการแนะแนว สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาได้กำหนดไว้ ดังนี้
- รู้จักและยอมรับตนเอง
- อดทน ใจเย็น
- จริงใจและตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่น
- มีท่าทีที่เป็นมิตรและมองโลกในแง่ดี
- ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่นและช่างสังเกต
- ใช้คำพูดได้เหมาะสม
- เป็นผู้รับฟังที่ดี
นอกจากคุณลักษณะทั้ง 7 ข้อนี้แล้ว แนะแนวฮับมาแจกเช็กลิสต์ (ฉบับดัดแปลง) เพื่อให้คุณครูนำไปให้นักเรียนที่สนใจอยากจะเป็นนักเรียน YC ได้ลองสำรวจตัวเองกันเบื้องต้น
วิธีการคือ : ให้นักเรียนให้คะแนนตามข้อความด้านล่างนี้
3 = จริง
2 = ค่อนข้างจริง
1 = อาจมีส่วนจริงบ้าง
0 = ไม่จริง
หลังจากที่คุณครูให้นักเรียนลองทำเช็กลิสต์ทั้ง 15 ข้อ ที่ดัดแปลงรูปแบบประโยคและคำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นแล้ว คุณครูลองมาชวนนักเรียนแปลผลกัน
ข้อที่ 1, 2, 4, 5, 7, 9, 13, 14
- ระดับคะแนน : จริง 3/ ค่อนข้างจริง 2/ อาจมีส่วนจริงบ้าง 1/ ไม่จริง 0
ข้อที่ 3,6, 8, 10, 11, 12, 15
- ระดับคะแนน : จริง 0/ ค่อนข้างจริง 1/ อาจมีส่วนจริงบ้าง 2/ ไม่จริง 3
เมื่อรวบรวมคะแนนเสร็จแล้ว มาดูความหมายของระดับคะแนนที่ได้รับกัน
- หากนักเรียนมีคะแนนระหว่าง 31-45 หมายถึง นักเรียนมีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการเป็นเพื่อนที่ปรึกษาอย่างมาก
- หากนักเรียนมีคะแนนระหว่าง 16-30 หมายถึง นักเรียนมีคุณลักษณะที่ดีหลายอย่าง มีความเหมาะสม แต่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะในบางเรื่อง เช่น การรับฟังอย่างลึกซึ้ง
- หากนักเรียนมีคะแนนระหว่าง 0-15 หมายถึง นักเรียนอาจจะต้องพัฒนาทักษะหลายอย่าง เพื่อให้มีคุณลักษะของการเป็นนักเรียน YC
แนะแนวฮับอยากเชิญชวนให้คุณครูลองนำเช็กลิสต์ไปให้นักเรียนลองสำรวจตัวเองดูนะคะ
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผลคะแนนเป็นเพียงการสำรวจตัวเองเบื้องต้น หากคุณครูเห็นทักษะ ความสามาถหรือคุณสมบัติอื่นๆ ของนักเรียน ทั้งในขณะอยู่ในห้องเรียน หรือจากคนอื่นๆ และมองเห็นศักยภาพที่นักเรียนจะพัฒนาได้ ก็สามารถขอนัดสัมภาษณ์นักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจะได้รู้จักและเห็นทักษะของนักเรียนมากยิ่งขึ้นค่ะ
อ้างอิง แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว โดยสพฐ. อ้างอิงตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
พิเศษ! เปิดคอร์สออนไลน์ชวนคุณครูที่ต้องสอนแนะแนวทุกท่านมาเรียน
หลักสูตรการเรียนการสอนแนะแนวและการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Online)
ถ่ายทอดโดยเพื่อนครูแนะแนวผู้มีประสบการณ์ตรงในการนำไปใช้จนเห็นผลการเปลี่ยนแปลง พร้อมเคล็ดลับและคำแนะนำที่สามารถใช้ได้จริง
✅ เรียนฟรี
✅ ได้ไอเดียและกิจกรรมไปใช้สอนแนะแนว
✅ มีเกียรติบัตร
คลิกสมัครและเริ่มเรียนได้ที่ https://guidancehubth.com/courses