5 อาการสุขภาพจิตใจที่ครูแนะแนวควรรู้

หมวดหมู่: พื้นที่เพื่อนครู

Tags:  ดูแลใจนักเรียน

อ่านแล้ว: 705 ครั้ง


ภาพประกอบความรู้

“เป็นอะไรไม่รู้ แต่รู้สึกไม่เหมือนเดิมเลย 😔😢”

ปัญหาสุขภาพจิต สุขภาพใจ เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิดและเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าเพศอะไร วัยไหน จะเป็นเด็กนักเรียน ผู้ใหญ่อย่างเราๆ หรือคนเฒ่าคนแก่

เพื่อให้คุณครูมีแนวทางในการสังเกต และประเมินเบื้องต้น ทั้งสำหรับตัวเองและนักเรียนของพวกเรา (หากได้รับการวินิจฉัยและยืนยันจากแพทย์แล้ว จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีและเหมาะสมต่อไป) วันนี้ทีมงานแนวแนะฮับเลยขอนำข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับอาการทางสุขภาพใจมาฝากนะคะ

ชื่อภาพ

1. Anxiety Disorder

เป็นกลุ่มของอาการที่เกี่ยวข้องกับความกลัวและความวิตกกังวล มีหลายประเภท และแตกต่างไปตามอาการ ผู้ที่มีอาการโรคนี้จะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ การเกิดความกลัว หรือ กังวลกับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ที่ไม่สามารถควบคุมให้สงบได้โดยง่าย

โรควิตกกังวล เกิดจากสาเหตุได้หลายประการ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การประสบกับเหตุการณ์ที่ตึงเครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจ อย่างการถูกล่วงละเมิด การเสียชีวิตของคนที่คุณรัก ความรุนแรงหรือการเจ็บป่วยที่ยืดเยื้อ เป็นต้น

ชื่อภาพ

2. Stress

คือภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งที่ศักยภาพของเราไม่สามารถรับมือได้ ทุกครั้งที่เกิดความเครียด สมองของเราจะปล่อยอะดรีนาลีน (Adrenaline) (สารตัวเดียวกันที่จะปล่อยออกมาตอนเราโกรธ มีพลัง พร้อมที่จะต่อสู้) และคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกำจัดความเครียด ด้วยการเร่งให้ตับผลิตน้ำตาลมาช่วยเลี้ยงร่างกาย ทำให้เรามีพลังงาน มีแรงสู้กับความเครียด

ฮอร์โมนเหล่านี้จะกระตุ้นการเต้นของหัวใจและส่งเลือดไปยังบริเวณอวัยวะสำคัญ เช่น กล้ามเนื้อ หัวใจ ซึ่งการทำงานของฮอร์โมนเหล่านี้จะแสดงออกมาเป็นอาการต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ หายใจลำบาก ฯลฯ หากทิ้งเวลานานจนเป็น "ความเครียดเรื้อรัง" จะยิ่งส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว เช่น เป็นโรคทางเดินอาหาร ความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ การมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นต้น

ชื่อภาพ

3. Insomnia

คือ โรคนอนไม่หลับ ซึ่งมีอาการหลากหลายมาก เช่น นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท รู้สึกงัวเงียและเพลียระหว่างวัน ฯลฯ เกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ การนอนไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารเย็นมื้อใหญ่ที่หนักและดึกเกินไป การเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาชีวภาพ* มีทั้งภาวะนอนไม่หลับชั่วคราว ที่มักเกิดจากความเครียดหรือมีเหตุการณ์กระทบจิตใจ ส่วนภาวะนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง (มีอาการนอนไม่หลับ ต่อเนื่องยาวนานเกิน 1 เดือนขึ้นไป) อาจเป็นผลของจากการใช้ยาหรืออาการเจ็บป่วยอื่น

*นาฬิกาชีวภาพ ทำหน้าที่ควบคุมการตื่น การนอน การเผาผลาญพลังงาน และอุณหภูมิร่างกาย นาฬิกาของร่างกายจะถูกรบกวนเมื่อมีการเดินทางต่างสถานที่ การทำงานแบบกะดึกกะเช้า การเปลี่ยนกะเข้าทำงานบ่อย ซึ่งส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร เป็นต้น

ชื่อภาพ

4. Bipolar Disorder

คือ โรคที่ส่งผลให้มีความผิดปกติทางอารมณ์ คนที่เป็นโรคนี้จะมีช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (Major depressive episode) และช่วงอารมณ์ร่าเริงเกินปกติ (Mania หรือ Hypomania) สลับกันไปมา

คนทั่วไปมักคิดว่า ถ้าเป็นไบโพลาร์จะต้อง “เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย” อารมณ์แปรปรวนง่ายในหนึ่งวัน ซึ่งไม่จริงเลย เพราะช่วงอารมณ์อาจทำให้เรารู้สึกเศร้ายาวนาน 1 - 2 สัปดาห์แล้วจึงกลับมาสู่ช่วงร่าเริงสนุกสนาน (เกินกว่าช่วงอารมณ์ปกติ) อาจทิ้งห่างกันเป็นเดือน หรือมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางก็ได้

ชื่อภาพ

5. Schizophrenia

คือ ภาวะโรคจิตเภท ที่สมองมีความผิดปกติ ทำให้มีความคิดหรือการรับรู้ที่ผิดปกติ เช่น หลงเชื่อผิดๆ ว่าจะมีคนมาทำร้าย รวมถึงการมีประสาทสัมผัสที่ผิดปกติ ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหลอน ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมหรือคำพูดที่ดูแปลกกว่าคนทั่วไป มักเกิดในวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการก้าวร้าว อาละวาด อันอาจก่อนให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น ญาติหรือผู้พบ เห็นสามารถแจ้งตํารวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง เพื่อช่วยนําผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลของรัฐที่ใดก่อนก็ ได้เพื่อช่วยการรักษาในเบื้องต้น (ตามพรบ.สุขภาพจิต2551)

อ้างอิง


พิเศษ! เปิดคอร์สออนไลน์ชวนคุณครูที่ต้องสอนแนะแนวทุกท่านมาเรียน

ชื่อภาพ

หลักสูตรการเรียนการสอนแนะแนวและการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Online)

ถ่ายทอดโดยเพื่อนครูแนะแนวผู้มีประสบการณ์ตรงในการนำไปใช้จนเห็นผลการเปลี่ยนแปลง พร้อมเคล็ดลับและคำแนะนำที่สามารถใช้ได้จริง

✅ เรียนฟรี

✅ ได้ไอเดียและกิจกรรมไปใช้สอนแนะแนว

✅ มีเกียรติบัตร

คลิกสมัครและเริ่มเรียนได้ที่ https://guidancehubth.com/courses


แชทคุยกับเรา