รู้หรือไม่ คณะอะไรรับราชการได้บ้าง? แนะนำ 32 ตำแหน่งในสายงานราชการ ที่หลายคนไม่รู้จัก
หมวดหมู่: เครื่องมือข้อมูลด้านการสอน
Tags: คณะ
อ่านแล้ว: 21040 ครั้ง
‘รับราชการ’ ไม่ได้มีแค่ตำรวจ ครู พยาบาล หรือทหารเท่านั้น
“เรียนคณะอะไรถึงจะรับราชการได้บ้างคะ”
ถือเป็นคำถามยอดฮิต ที่ค่อนข้างตอบยากเหมือนกันค่ะ เพราะอาชีพราชการเป็นสายงานที่กว้างมาก มีหลายส่วนงาน หลายตำแหน่งงาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบและเนื้อหางานที่หลากหลาย จึงไม่แปลกที่ครูแนะแนวน้องใหม่หลายคนจะกังวลเวลานักเรียนมาถาม
วันนี้แนะแนวฮับจึงหาข้อมูล “32 ตำแหน่งงานในสายราชการ” พร้อมคุณสมบัติการคัดเลือกวุฒิการศึกษา มาเป็นแนวทางให้คุณครูไปสื่อสาร จัดการเรียนการสอน หรือเป็นข้อมูลสนเทศให้กับนักเรียนในห้องแนะแนวก็ได้ค่ะ
สิ่งสำคัญคือ การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นกลางให้กับนักเรียน เพราะไม่ว่าจะอาชีพรับราชการ อาชีพในบริษัทเอกชน หรืออาชีพใดๆ ก็อาจไม่ใช่ “อาชีพที่มั่นคง” หรือเหมาะกับทุกคนเสมอไป ทั้งนี้ ต้องขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ทั้งตัวตนของนักเรียนเอง บริบทแวดล้อม สภาพสังคม กระแสความนิยมและความท้าทายด้านการทำงานในยุคสมัยนั้นๆ
ตามจริงแล้วทุกคณะ ทุกสาขา สามารถใช้ต่อยอดเพื่อรับราชการได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานที่ตรงกับวุฒิการศึกษา และความรู้ความสามารถของบุคคลนั้นๆ มาเป็นส่วนประกอบ
“อาชีพข้าราชการ”
หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ในหน่วยงานของรัฐ และรับเงินเดือนที่ได้มาจากภาษีที่รัฐบาลเก็บมาจากประชาชน ซึ่งอาชีพข้าราชการเป็นกลุ่มอาชีพที่ต้องทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติ โดยเส้นทางการเป็นข้าราชการสามารถทำได้อยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ
1.การคัดเลือก เป็นการเข้ารับการทำงานในอาชีพข้าราชการแบบไม่ต้องสอบ เช่น กรณีเป็นผู้ที่มีวุฒิการศึกษาที่สำเร็จได้ยากหรือเป็นผู้ที่ได้รับทุนจากรัฐบาล เป็นต้น
2.การสอบแข่งขัน (หรือที่เรียกว่า การสอบ ก.พ.) โดยเป็นการสอบของสำนักงานข้าราชการพลเรือน (OCSC) ที่คัดเลือกบุคคลเข้ามาปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการให้ตรงตามกับคุณสมบัติที่ทางสำนักงานข้าราชการพลเรือนกำหนด สามารถจำแนกประเภทของข้าราชการได้ 16 กลุ่ม ได้แก่
- ข้าราชการพลเรือน
- ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
- ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
- ข้าราชการทหาร
- ข้าราชการตำรวจ
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
- ข้าราชการฝ่ายอัยการ
- ข้าราชการรัฐสภา
- ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
- ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
- ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
- ข้าราชการการเมือง
- พนักงานของรัฐประเภทอื่นๆ
อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่มักเข้าสู่อาชีพข้าราชการด้วยวิธีการที่ 2 นั่นคือ การสอบแข่งขัน ก.พ. ทำไมต้องรู้จัก ก.พ.
พิเศษ! เปิดคอร์สออนไลน์ชวนคุณครูที่ต้องสอนแนะแนวทุกท่านมาเรียน
หลักสูตรการเรียนการสอนแนะแนวและการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Online)
ถ่ายทอดโดยเพื่อนครูแนะแนวผู้มีประสบการณ์ตรงในการนำไปใช้จนเห็นผลการเปลี่ยนแปลง พร้อมเคล็ดลับและคำแนะนำที่สามารถใช้ได้จริง
✅ เรียนฟรี
✅ ได้ไอเดียและกิจกรรมไปใช้สอนแนะแนว
✅ มีเกียรติบัตร
คลิกสมัครและเริ่มเรียนได้ที่ https://guidancehubth.com/courses